เภสัชวิทยา ของ วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า

วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนที่ใช้เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัสของชิมแปนซีซึ่งไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ เวกเตอร์มีลำดับยีนสำหรับโปรตีนหนาม (spike) ของไวรัสโควิด-19 ที่สมบูรณ์และทำให้แสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพสุด (codon-optimized) ประกอบกับลำดับยีนนำ (leader sequence) คือ tissue plasminogen activator (tPA)[upper-alpha 1][56][57]

อะดีโนไวรัสแพร่พันธุ์ไม่ได้ก็เพราะได้ลบยีนสำคัญออกแล้วแทนที่ด้วยยีนที่เข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัสโควิด-19หลังจากฉีดวัคซีน อะดีโนไวรัสซึ่งเป็นเวกเตอร์ก็จะเข้าไปในเซลล์แล้วปล่อยยีน ซึ่งก็จะนำส่งไปยังนิวเคลียสของเซลล์ต่อไปแล้วกลไกของเซลล์ก็จะถอดรหัสยีนเป็นเอ็มอาร์เอ็นเอแล้วแปลรหัสเป็นโปรตีนหนาม[58]

โปรตีนสำคัญก็คือโปรตีนหนาม (spike protein) ซึ่งเป็นโปรตีนด้านนอกที่ทำให้ไวรัสโคโรนาในกลุ่ม SARS สามารถเข้าไปในเซลล์ผ่าน enzymatic domain ของเอนไซม์ที่ผิวเซลล์ คือ ACE2 (Angiotensin-converting enzyme 2) ได้[59]การผลิตโปรตีนชนิดนี้ของเซลล์หลังได้ฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเข้าไปโจมตีไวรัสโคโรนาที่ติดจริง ๆ ในภายหลังโดยอาศัยสารภูมิต้านทานและเซลล์เม็ดเลือดขาว (T-cell)[4]

ใกล้เคียง

วัคซีนโควิด-19 วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา วัคซีนโควิด-19 สปุตนิกวี วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน วัคซีนโควิด-19 ของโนวาแวกซ์ วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็ก วัคซีนโควิด-19 ของเกาตวาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า http://www.nature.com/articles/d41586-021-00315-5 http://www.theguardian.com/society/2021/apr/08/spa... http://www.theguardian.com/world/2020/nov/26/scrut... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18227861 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32861315 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33230278 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33306989 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33323376 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33501433